นิยามเชิงปฏิบัติการของกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talent)

นิยาม Talent

ผู้มีความสามารถพิเศษ หมายถึง  ผู้ที่แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ในสาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา (อาทิ Performing Arts/Creative Writing and Journalism/Mathematics/ Business Management/Athletics/History/Social Action/Fine Arts and Crafts/Science/ Technology) สร้างผลงานได้อย่างเป็นที่ประจักษ์  เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นที่มีอายุระดับเดียวกัน สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์เดียวกัน โดยมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ด้าน 

1. ความสามารถเหนือกว่าค่าเฉลี่ย โดยเป็นคนกลุ่ม Top 15 – 20% บน โดยมีความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่โดดเด่น สามารถคิดเชิงนามธรรมได้ในระดับสูง ปรับตัว/แก้ปัญหาต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี โดยแยกแยะและดึงข้อมูลสำคัญจำเป็นมาใช้ในการแก้ปัญหา/ตัดสินใจได้ดี

2. มีความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จแม้จะเผชิญกับอุปสรรค (Task Commitment) โดยมีความสนใจ/แรงจูงใจในด้านหนึ่ง ๆ เป็นอย่างสูง มีความมั่นใจ อุทิศตัวทำงานอย่างไม่ย่อท้อ มีมาตรฐานการทำงานสูง

3. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คือ มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และมีความริเริ่มสร้างสรรค์ ทางความคิด อยากรู้อยากเห็น เปิดใจรับสิ่งใหม่ มีสุนทรียภาพ กล้างเสี่ยง

4. มีคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานที่ดี  ได้แก่ จริงใจ ไม่เห็นแก่ตัว และมี integrity

โดย Talent Thailand Platform ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลบุคลากรไปสู่การทำงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศดังนี้
 

นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. นักเรียนที่มีศักยภาพสูง (Top 3% ของนักเรียนที่ผ่านการทดสอบ) 

2. นักเรียนทุน พสวท.

3. นักเรียนโอลิมปิกวิชาการ 

4. นักเรียนทุนรัฐบาลทั้งหมด 

5. นักศึกษาที่รับรางวัล/ไปแข่งขันระดับโลก 

 

นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษดนตรี, กีฬา, ศิลปะ

1. นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี

2. นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา

3. นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านศิลปะ

 

ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะด้านในประเทศ, ต่างประเทศ

1. นักวิจัยที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 

2. นักวิจัยไทยในต่างประเทศ 

 

 

ที่มา: วิเคราะห์จาก

1. Joseph S. Renzulli. (1978). What Makes Giftedness? Reexamining a Definition. The Phi Delta Kappan, 60 (3) (Nov., 1978), pp. 180-184, 261.

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ (พ.ศ. 2549-2559), สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

3. https://www.moe.gov.sg/education/programmes/gifted-education-programme/exceptionally-gifted-children

4. Carolyn M. Callahan. (1997).  The Construct of Talent. Peabody Journal of Education, 72 (3/4). Charting a New Course in Gifted Education: Parts 1 and 2 (1997), pp. 21-35.

5. https://jobs.netflix.com/culture

6. ดร.นพรัตน์ ศรีเจริญ. (2563). เอกสารการนำเสนอ เรื่อง กรอบและแนวทางการพัฒนานักเรียนทุน พสวท.. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

 

ผู้แต่ง : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

27 เม.ย. 2564